การสร้างสเปรดชีต

ขั้นตอนการสร้างสเปรดชีต มีดังนี้
1. คลิกปุ่ม “สร้างใหม่” แล้วเลือก “สเปรดชีต”


จะปรากฏหน้าเอกสารที่มีลักษณะคล้ายกับ MS Excel


2. เมนู และแถบเครื่องมือของเอกสารสเปรดชีตมีลักษณะคล้ายกับโปรแกรม MS Excel สามารถใช้งานได้ง่าย เช่น การกำหนดรูปแบบสกุลเงิน วันที่ การใช้ฟังก์ชัน การใส่สูตรคำนวณ การแทรกแผนภูมิ เป็นต้น


3. การเปลี่ยนชื่อเอกสาร เริ่มต้นสร้างเอกสารใหม่ โปรแกรมจะกำหนดชื่อเอกสารเป็น “สเปรดชีตที่ยังไม่ได้บันทึก”

แต่เราสามารถเปลี่ยนชื่อเอกสารเองได้ใหม่ โดยคลิกเมาส์ที่ช่อง “สเปรดชีตที่ยังไม่ได้บันทึก” จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง “เปลี่ยนชื่อสเปรดชีต” ให้เรากรอกชื่อเอกสารที่ต้องการลงไป แล้วกดปุ่ม “ตกลง”

4. พิมพ์เอกสาร และจัดรูปแบบตามที่ต้องการ


5. การแทรกภาพ สามารถแทรกภาพโดยการคลิกที่เมนู “แทรก” หรือ  บนแถบเครื่องมือ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง “แทรกภาพ” ให้เรากดปุ่ม “Browse” เพื่ออัปโหลดรูป หรือจะให้ Google ช่วยค้นหารูปออนไลน์ก็ได้


6. การแทรกแผนภูมิ สามารถแทรกแผนภูมิได้ตามขั้นตอนดังนี้
                      6.1 คลิกที่เมนู “แทรก” หรือ  บนแถบเครื่องมือ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง “เครื่องมือแก้ไขแผนภูมิ”
                      6.2 คลิกที่คำว่า “เลือกช่วง” เพื่อกำหนดช่วงของข้อมูลที่จะนำมาสร้างแผนภูมิ


6.3 ใช้เมาส์คลิกลากช่วงของข้อมูลที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม “ตกลง”


6.4 คลิกเลือกรูปแบบของแผนภูมิ เช่น แผนภูมิคอลัมน์ จากนั้นกดปุ่ม “แทรก”


7. การเปลี่ยนชื่อแผ่นงาน ทำได้โดย ใช้เมาส์คลิกขวาที่แผ่นงาน แล้วเลือกคำสั่ง “เปลี่ยนชื่อ” จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง “เปลี่ยนชื่อ”ให้ป้อนชื่อแผ่นงานใหม่ แล้วกดปุ่ม “ตกลง”


8. การเพิ่มแผ่นงาน/แสดงแผ่นงาน ถ้าต้องการเพิ่มแผ่นงาน ให้คลิกที่สัญลักษณ์  และถ้าต้องการแสดงแผ่นงานที่มีอยู่ ให้คลิกที่สัญลักษณ์ 
9. การบันทึกเอกสาร โปรแกรมจะทำการบันทึกเอกสารให้อัตโนมัติเมื่อมีการพิมพ์หรือแก้ไขเอกสาร หรือถ้าเราต้องการจะบันทึกเอกสารด้วยตนเองก็ให้กดที่ปุ่ม “บันทึกเดี๋ยวนี้”

ส่วนประกอบต่าง ๆ บน Google Spreadsheet


  1. แถบเมนูคำสั่ง (Menu  bar)  ประกอบด้วยชื่อเมนูที่สามารถเลือกใช้ได้  โดยแต่ละเมนู  จะมีคำสั่งย่อยอยู่เก็บเป็นชุดๆ  ตามลักษณะการใช้งาน 
  2. แถบเครื่องมือ (Toolbar) เป็นส่วนที่ใช้แสดงคำสั่งที่ต้องใช้บ่อย ๆ   ซึ่งแสดงอยู่ในรูปของไอคอน  เพื่อให้เรียกใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่าการเลือกจากแถบเมนูคำสั่ง 
  3. แถบสูตร (Formula bar) เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลที่กำลังจะป้อนเข้าหรือแสดงข้อมูลที่จะแก้ไข
  4. ชื่อคอลัมน์ (Column)
  5. ชื่อแถว (Row)
  6. พื้นที่ชีตงาน  (Worksheet Area) เป็นพื้นที่ที่ใช้แสดงเอกสารต่าง ๆ ที่เราสร้างหรือเรียกใช้ ซึ่งเป็นกระดาษทำการ (Worksheet)  หรือแผนภูมิ (Chart) พื้นที่ทำการใช้ในการเก็บข้อมูลสูตรการคำนวณ , รวมทั้งผลลัพธ์ที่ได้อีกทั้งยังอาจสร้างแผนภูมิรวมไว้ด้วยก็ได้  งานส่วนใหญ่จึงมักใช้อยู่ในกระดาษทำการเป็นหลัก  ซึ่งขณะนี้จะแสดงกระดาษทำการชื่อ  แผ่นที่ 1
  7. เครื่องมือสร้างแผ่นงาน และปุ่มเลือกรายการแผ่นงานที่มีทังหมด
  8. แถบแสดงรายชื่อแผ่นงาน